อธิบดี พช. ลงพื้นที่ตรวจติดตามการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน ตามนโยบาย Soft Power ในการพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ - Once In A Life Time

Once In A Life Time

ก้าวไปกับเราครั้งหนึ่งในชีวิต

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Wednesday, October 25, 2023

อธิบดี พช. ลงพื้นที่ตรวจติดตามการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน ตามนโยบาย Soft Power ในการพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์










เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วย นางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน ลงพื้นตรวจเยี่ยมและติดตามการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนและสำรวจข้อมูลในการขับเคลื่อนงานตามนโยบาย Soft Power ของรัฐบาลที่จะพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ให้พี่น้องประชาชน ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โอกาสนี้ ได้ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและผู้ประกอบการ OTOP โดยมี นางกนกอร โพธิ์สิงห์ พัฒนาการจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทีมงานพัฒนาชุมชนบุรีรัมย์ และผู้ประกอบการ OTOP ให้การต้อนรับ


นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญกับซอฟต์พาวเวอร์ประเทศไทย เพราะเห็นว่าเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ส่งเสริมภาครัฐ และเชื่อมั่นของประเทศไทยในเวทีโลก บุรีรัมย์เป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก จากเดิมที่ใคร ๆ อาจรู้จักแค่เมืองปราสาทหิน แหล่งอารยธรรมขอมนับพันปีสู่การผันตัวเองเป็นเมืองปราสาททรงพลังในวงการลูกหนัง ทว่าอีกมุมหนึ่งของบุรีรัมย์ก็เต็มไปด้วยเสน่ห์แห่งภูมิปัญญาจากมรดกตกทอดยาวนานกับการทอผ้า เลี้ยงไหม ปลูกหม่อน และกลายเป็นผืนผ้าทออันทรงคุณค่าคู่เมืองบุรีรัมย์ เช่นที่กลุ่มทอผ้าไหมบ้านหัวสะพาน ตำบลบ้านยาง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับการพัฒนาภูมิปัญญา จากความตั้งใจของกลุ่มฯ ที่จะอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์ฯ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2553 โดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (บุรีรัมย์) ร่วมกับสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์ สหกรณ์อำเภอพุทไธสง พร้อมด้วยสมาชิกผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม บ้านหัวสะพาน ดำเนินธุรกิจด้านการปลูกหม่อนการเลี้ยงไหมวัยอ่อน การเลี้ยงไหมวัยแก่ และการผลิตเส้นไหมให้ได้ตามมาตรฐานเส้นไหมหัตถกรรม พร้อมการบริหารจัดการดักแด้ไหม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมของเกษตรกรในบริเวณแถบนี้ ตลอดจนถ่ายทอดปัญญาดังกล่าวต่อกลุ่มชนรุ่นหลังต่อไป ภายในกลุ่มฯ จะมีการแบ่งงานกันทำ อย่างชัดเจนตามความชอบและความถนัดของสมาชิกแต่ละคน โดยจะมีทั้งฝ่ายเลี้ยงไหมใบอ่อน เลี้ยงไหมใบแก่ ทอ มัด ย้อม การตลาด และบัญชี ส่วนผลิตภัณฑ์นั้น สามารถทำได้ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเส้นไหม ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าซิ่นตีนแดง ผ้ามัดหมี่เชิงแดง ผ้าไหมพื้นเรียบ ผ้าคลุมไหล่ และผ้าพันคอ เป็นต้นนอกจากนี้ ยังมีการแปรรูปผ้าไหมเป็นหมอนสมุนไพร หมอนสามเหลี่ยม หมอนทรงมะเฟือง หมอนทรงกระดูก และกระเป๋า เป็นงานฝีมือที่ทางกลุ่มผลิตเองทุกขั้นตอน ตลาดหลักๆ คือ สวนจิตรลดา และศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด และมีขายทั้งออนไลน์ และออกบูธในงานสำคัญของจังหวัด และระดับประเทศด้วย


จากนั้น อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้เดินทางต่อไปยัง กลุ่มตุ้มทอง ตำบลนาโพธิ์ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ มี นางแสงเดือน จันทร์นวล หรือ ปุ๋ย เป็นประธานกลุ่ม กลุ่มตุ้มทอง มาจากชื่อ ตาตุ้มทอง ครูสอนทอผ้า ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเน้นผ้าทอมือ ได้แก่ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้าถุง ผ้ามัดหมี่ลายสร้างสรรค์ ลักษณะของการทอผ้าสะท้อนให้เห็นถึงการทอผ้าในกลุ่มคนรุ่นเก่า คือรุ่นแม่ และกลุ่มคนรุ่นใหม่ คือรุ่นลูก และอีกทั้งเส้นใยผ้าไหมนี้ยังเป็นไหมพื้นบ้าน สาวด้วยมือ ซึ่งยังใช้กระบวนการทำแบบดั้งเดิม ผสมผสานกับการมัดลายแบบสมัยใหม่ ที่เป็นลายไม่มีทิศทาง มีความใหญ่ของลาย แต่มีความลงตัวและสวยงาม กลายเป็นซิกเนเจอร์ของกลุ่ม และลายสร้างสรรค์เน้นจำหน่ายให้ชาวต่างชาติ มีการสร้างลูกหลานในการสืบสาน รักษาต่อยอด และลงทะเบียน OTOP จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) ฟืมไหมบ้านแม่ และ 2) กลุ่มทอตะวัน และทั้ง 2 กลุ่ม เป็น Young OTOP ประเภทผ้าเมื่อปี 2565 โดยปี พ.ศ. 2540 จัดตั้งกลุ่มทอผ้าบ้านนาโพธิ์ แรกเริ่ม สมาชิก 15 คน  มีสมาชิกกว่า 700 คน ในพื้นที่ 17 หมู่บ้าน หากท่านที่สนใจสามารถเข้าชมสินค้าได้ทางช่องทาง Facebook : Phatoomthong

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad