กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสมาคมแม่บ้านมหาดไทย แถลงข่าวจัดงาน Silk Festival 2023 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน - Once In A Life Time

Once In A Life Time

ก้าวไปกับเราครั้งหนึ่งในชีวิต

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Sunday, November 26, 2023

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสมาคมแม่บ้านมหาดไทย แถลงข่าวจัดงาน Silk Festival 2023 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน








กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสมาคมแม่บ้านมหาดไทย แถลงข่าวจัดงาน Silk Festival 2023 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด Silk Success Sustainability เฉลิมพระเกียรติ 36 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ชมและเลือกซื้อผ้าลายดอกรักราชกัญญา ผ้าลายพระราชทาน ชมงานหัตถกรรมลวดลายพระราชทานจากชุมชน และผลงานจากศิลปินโอทอปชั้นสูง นำรายได้กลับสู่ชุมชน 


กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ สมาคมแม่บ้านมหาดไทย จัดงาน Silk Festival 2023 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด Silk Success Sustainability ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 3 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00 – 20.00 น.ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 6-7 เมืองทองธานี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 36 พรรษา และเพื่อสร้างการรับรู้ถึงผลสำเร็จของ การขับเคลื่อนโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามแนวพระดำริ ที่ทรงส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาผ้าไทย สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการผ้าไทย อนุรักษ์ผ้าไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดิน โดยจัดงานแถลงข่าว  ในวันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องบอลรูม ชั้น 5 โรงแรมโรสวูด กรุงเทพฯ 



นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน และสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ได้รับพระมหากรุณาจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานลายผ้า “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” รวมถึงลายผ้าพระราชทานอื่นๆ ที่ท่านทรงพระราชทานมาแล้วนั้น ส่งผลทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงการเครื่องนุ่งห่มของคนไทย ต่อลมหายใจผืนผ้าภูมิปัญญาไทย ทำให้พี่น้องคนทอผ้าทั่วประเทศได้มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว เพราะผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา ผ้าลายดอกรักราชกัญญา และทุกลายพระราชทาน มีมูลค่าสามารถจำหน่ายได้เพิ่มมากขึ้น ทั่วทุกภูมิภาค  ในห้วงระยะเวลา 3 ปีที่พระองค์ทรงใช้พระอัจฉริยภาพในงานผ้าไทย ทรงพระราชทานพระดำริ รวมทั้งพระราชทานลายผ้าพระราชทาน พร้อมทั้งแนวทางในการตัดเย็บให้มีความสวยงดงาม มีลวดลายสลับกลับด้านผ่านการออกแบบที่ทันสมัย และสร้างความยั่งยืนด้วยการใช้สีธรรมชาติในการย้อมผ้า ทำให้สังคมเกิดความเชื่อมั่นว่าผ้าไทยสามารถตอบสนองรสนิยมของคนทุกเพศ ทุกวัย ใส่ได้ทุกโอกาสทุกสถานที่ ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการพระดำริ “โครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก” และพระราชทานพระอนุญาตให้ทุกคน รวมถึงช่างทอผ้า สามารถนำไปต่อยอดได้ และล่าสุดพระองค์ได้พระราชทานแนวคิดเรื่อง Sustainable Fashion ซึ่งเป็นมาตรฐานหลักของอุตสาหกรรมแฟชั่น โดยทรงออกแบบพระราชทาน เครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” เป็นภาพตัวอักษร S หมายถึง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระผู้ทรงเป็นดั่งแสงสว่างบนเส้นทางแห่งการฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าและหัตถศิลป์ไทย และยังหมายถึง Sustainable คือ แนวพระราชดำริแห่งความยั่งยืนในทุกมิติที่สร้างชีวิตที่ดีให้แก่ราษฎร ทรงออกแบบให้มีตัวอักษรข้อความ Sustainable Fashion ล้อไปกับตัวอักษร S หมายถึงแนวพระราชดำริ “แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ที่ทุกกระบวนการสร้างสรรค์ผืนผ้าและงานหัตถกรรมล้วนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและโลกใบเดียวของเรา และทรงออกแบบรูปหัวใจประดับไว้ที่ส่วนต้น กลางและปลาย ของข้อความ Sustainable Fashion ด้วยทรงปรารถนาให้ผู้สร้างสรรค์ผืนผ้าและงานหัตถกรรมนำแนวพระดำรินี้ไปต่อยอดตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ในการนี้ทรงพระราชทานเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” แก่ช่างทอผ้า ช่างหัตถกรรม ผู้ผลิต และผู้ประกอบการที่สร้างสรรค์ผืนผ้าและหัตถกรรมด้วยขั้นตอนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 



ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย กล่าวว่า ในปี 2566 ซึ่งเป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงเจริญพระชนมายุ 36 พรรษา สมาคมแม่บ้านมหาดไทย ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย สนองแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาคมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์การแต่งกายผ้าไทยในทุกภูมิภาคของประเทศ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชิ้นงาน การออกแบบ การเลือกวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชทานพระดำริ “Sustainable Fashion แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” พระองค์ท่านทรงมีพระประสงค์ที่จะให้ ช่างทอผ้าสามารถพึ่งพาตนเอง ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ ส่งเสริมการปลูกฝ้ายปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ปลูกไม้ที่สามารถนำมาย้อมผ้าสีธรรมชาติได้ กลางน้ำ คือ การออกแบบลวดลายใหม่ และปลายน้ำ คือ พัฒนาการออกแบบตัดเย็บและการจำหน่าย สร้างอัตลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้พระองค์ได้พระราชทานหนังสือ Sustainable City พร้อมทั้งพระราชทานพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” เพื่อให้ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยได้เป็นผู้นำบูรณาการร่วมกับทุกกระทรวง ทำให้ทุกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านยั่งยืนอันเป็นการขยายผลมาจากที่พวกเราได้น้อมนำพระดำริ Sustainable Fashion จากโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก พร้อมกันนี้ได้พระราชทานหนังสือ Trend book และทรงเป็นบรรณาธิการรวบรวมเรียบเรียงและเสนอแนวโน้มของวงการแฟชั่นในอนาคต ดังนั้นจึงมีการขับเคลื่อนสิ่งต่างๆ นี้ นำไปสู่หมู่บ้านยั่งยืนอันมีองค์ประกอบ คือต้องรวมกลุ่ม กันทำงาน ทำงานเป็นทีมด้วย 7 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคผู้นำศาสนาภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน ช่วยกันคิด ช่วยกันลงมือทำ เพื่อจะได้รับประโยชน์ร่วมกัน 



นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า งาน Silk Festival 2023 Silk Success Sustainability มีกิจกรรมสำคัญที่เผยแพร่ความสำเร็จผ่านโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ 36 พรรษา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา นิทรรศการผลสำเร็จจากโครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” การพัฒนาผ้าลายพระราชทาน การสร้าง Sustainable Fashion เพื่อให้ผืนผ้าและงานหัตถกรรมของไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นิทรรศการเปิดตัวหนังสือ 4 เล่ม ได้แก่ หนังสือสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา, หนังสือเครื่องสานไทย, หนังสือบาติกโมเดลสู่ตลาดสากล, หนังสือลายดอกรักราชกัญญา รวมถึงการแสดงแบบภูมิปัญญาผ้าไทย จากดีไซเนอร์ชื่อดังระดับประเทศที่ร่วมรังสรรค์ผลงานจากผลิตภัณฑ์ผ้าทอของไทย ที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการฯ เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนที่มีความสนใจเรื่องการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านผ้าและงานหัตถกรรม การสร้างผลงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ นำไปสู่การสร้างรายได้สู่ชุมชน สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศต่อไป รวมถึงจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก งานหัตถกรรม และ OTOP ชวนชิมจากทั่วทุกภูมิภาค ในส่วนของการประกวดผ้าลายพระราชทานผ้าลายดอกรักราชกัญญา มีผู้สมัครส่งผ้าเข้าประกวด  จำนวน 6,290 ผืน และงานหัตถกรรม จำนวน 796 ชิ้น ผ่านเข้ารอบตัดสินระดับประเทศ ประเภทผ้า จำนวน 65 ผืน และงานหัตถกรรม จำนวน 10 ชิ้น โดยผลการตัดสินผลงานได้รับรางวัลประเภทผ้า 65 ผืน ประเภทหัตถกรรม 7 ชิ้นงาน และรางวัลพิเศษ Best of the best ประเภทหัตถกรรม 1 ชิ้นงาน โดยจะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในงาน Silk Festival 2023 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 6 เมืองทองธานี 




ด้าน นายกุลวิทย์ เลาสุขศรี และ นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก เผยว่า ภายในงานยังได้จัดแฟชั่นโชว์ผลงาน 13 แบรนด์ไทยดีไซเนอร์ชื่อดัง ได้แก่ SIRIVANNAVARI, ARCHIVE026, ASAVA, JANESUDA, IRADA, ISSUE, LANDMEE,  MILIN, PYVET, TandT, THEATRE, TIRAPAN,  WISHARAWISH, และ 2 Young Designers ได้แก่ แบรนด์ HAYA ผู้ชนะเลิศ และ AMEEN Studio รองชนะเลิศการประกวดตัดเย็บชุดผ้าไทยใส่ให้สนุก โครงการดีไซเนอร์รุ่นใหม่ของกรมการพัฒนาชุมชน โดยแต่ละแบรนด์นำผ้าไทยซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวของแต่ละชุมชน อาทิ ผ้าไหมแพรวา ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าไหมยกดอก ผ้าปักชาวเขา ผ้าไหมหางกระรอก ผ้าบาติก ผ้าฝ้ายย้อมคราม ผ้าขาวม้า ผ้าหางกระรอก ฯลฯ มารังสรรค์ผลงานสุดประณีต สะท้อนแนวคิดผ้าไทยใส่ให้สนุก แสดงถึงศักยภาพของการพัฒนาลายผ้าทอให้เข้ากับยุคสมัย แต่ยังคงอัตลักษณ์และเสน่ห์ของความเป็นไทยไว้อย่างสมบูรณ์นำไปสู่ soft power ด้านผ้าไทยอย่างแท้จริง  


#กระทรวงมหาดไทย  

#กรมการพัฒนาชุมชน  

#ผ้าไทยใส่ให้สนุก  

#Silkfestival2023



No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad