อธิบดี พช. ร่วมงาน “แม่บ้านมหาดไทยสัญจรภาคเหนือ” ชูบทบาทแม่บ้านมหาดไทย ขับเคลื่อนงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน" ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน - Once In A Life Time

Once In A Life Time

ก้าวไปกับเราครั้งหนึ่งในชีวิต

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Friday, January 13, 2023

อธิบดี พช. ร่วมงาน “แม่บ้านมหาดไทยสัญจรภาคเหนือ” ชูบทบาทแม่บ้านมหาดไทย ขับเคลื่อนงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน" ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

 















วันนี้ (13 ม.ค. 66) เวลา 13.00 น. ที่หอประชุมสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน 


นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย มอบแนวทางการขับเคลื่อนงานสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ประจำปี 2566 ในการประชุมแม่บ้านมหาดไทยสัญจร ครั้งที่ 3 พื้นที่ภาคเหนือ ประจำปี 2566 โดยมี นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และนางวาสนา นวลนุกูล รองประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ร่วมกิจกรรม


ในการนี้นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นางดวงกมล ยิ้มละมัย ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดลำพูน นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ อธิบดีกรมการปกครอง นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นางกุลทรัพย์ ชื่นโกสุม นางปวีณ์ริศา เกิดสม นางศลิษา ภิรมย์รัตน์ นางวรสุดา รัตนสุคนธ์ อุปนายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย นางสุจิตรา ศรีนาม นางนฤมล ล้อมทอง ที่ปรึกษานายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด คณะกรรมการชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด และภาคีเครือข่ายของกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทยในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด รวมกว่า 350 คน ร่วมในงาน

     

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า ขอบคุณพี่น้องชาวมหาดไทยและแม่บ้านมหาดไทยทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือ ที่มีความตั้งใจในการมาพบปะพูดคุย มาร่วมเป็นกำลังใจร่วมกันในการขับเคลื่อนงานของกระทรวงมหาดไทยและสมาคมแม่บ้านมหาดไทยซึ่งเป็นเนื้อเดียวกันที่แยกออกจากกันไม่ได้ เพราะทั้งสององค์กรมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การที่พวกเราช่วยกัน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้กับพี่น้องประชาชน ทำนุบำรุงประเทศชาติ พระศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้มีความมั่นคง วัฒนาสถาวร เป็นหลักชัยของลูกหลานคนไทย ตราบนานเท่านาน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญของการร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ มีนัยสำคัญ คือ “เราจะทำอย่างไรให้สมาคมแม่บ้านมหาดไทยซึ่งเป็นองค์กรช่วยสนับสนุนการทำงานเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ของประชาชน จะสามารถดึงเอาพลังแห่งความสมัครสมานสามัคคีของสมาชิกชมรมแม่บ้านมหาดไทยทั้ง 17 จังหวัดภาคเหนือไปร่วมขับเคลื่อนงานกับพวกเราชาวมหาดไทย และภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีในจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านได้อย่างมีพลัง ทำให้เกิดแสงแห่งปัญญา แสงแห่งความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชนคนไทย

     

“ผมเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ว่าคู่สมรสของผู้ว่าราชการจังหวัดและสมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดทุกจังหวัดมีพลานุภาพที่จะดลบันดาลให้การขับเคลื่อนงานบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชน บังเกิดความสำเร็จได้ เพราะท่านประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด สมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด และคู่สมรสของข้าราชการมหาดไทยทุกคน มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้พวกเราชาวมหาดไทย นำโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ทั้งผู้นำศาสนา ภาควิชาการ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคราชการ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อสารมวลชน ซึ่งทั้ง 7 ภาคีเครือข่ายที่เป็น “จิตอาสา” ในพื้นที่ ต่างรอการกระตุ้นปลุกเร้าและ “การนำ” การขับเคลื่อนของชมรมแม่บ้านมหาดไทย 17 จังหวัดภาคเหนือ รวมทั้งอีก 59 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ภารกิจในการบำบัดทุกข์  บำรุงสุขของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น สัมฤทธิ์ผลเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะองคาพยพที่สำคัญของสังคมไทยเรา คือ “ทุกครัวเรือนต้องมีแม่บ้าน” “แม่บ้านจะเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดของครอบครัว” เพราะ “แม่บ้าน” เป็นผู้มีความรับผิดชอบ รักและห่วงใยครอบครัว เป็นคนที่จะไม่ยอมให้คนในครอบครัวอดอยาก หิวโหย หรือขาดโอกาสที่ดีของชีวิต” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น

     

นายสุทธิพงษ์ฯ ได้กล่าวต่ออีกว่า ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด และสมาชิกแม่บ้านมหาดไทยทุกท่าน ต้องช่วยกันกระตุ้น ปลุกเร้า และสร้างความเชื่อมั่นในการนำการขับเคลื่อนเพื่อสร้างสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคม เพื่อทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและภาคีเครือข่ายของผู้ว่าราชการจังหวัด และสมาคมแม่บ้านมหาดไทย และเหล่ากาชาดจังหวัด ได้เป็นกลไกสำคัญในการ Change for Good ให้เกิดขึ้น โดยเมื่อเชื่อมั่นแล้ว ก็ต้องช่วยทำให้สิ่งที่มุ่งมั่นตั้งใจได้เกิดการลงมือขับเคลื่อนโดยทันที ไม่รีรอ เพราะเราไม่รู้ว่าเราจะมีวันพรุ่งนี้เพื่อทำสิ่งที่ดีหรือไม่ จึงขอให้ทุกกรม ทุกรัฐวิสาหกิจ ทุกจังหวัด ได้ร่วมกับสมาคมแม่บ้านมหาดไทย มุ่งมั่นทำหน้าที่เป็นแม่ทัพนำ 7 ภาคีเครือข่ายออกไปทำศึกกับปัญหาความเดือดร้อนทุกเรื่องของพี่น้องประชาชน ทำให้คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนได้รับการพัฒนายกระดับ ให้เข้าใกล้เคียงคุณภาพชีวิตหรือสังคมในอุดมคติ นั่นคือ “สังคมแห่งความสุขที่ยั่งยืนของพี่น้องประชาชน” ให้เป็นจริงได้อย่างยั่งยืน ด้วยการสร้าง “ทีมจิตอาสา” เฉกเช่นทีมอำเภอนำร่องบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน 

     

“นับเป็นพระกรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้พระราชทานแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนแก่ประชาชน ด้วยการพระราชทานหนังสือ Sustainable City ให้แก่ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย และอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ที่วังศุโขทัย และกระทรวงมหาดไทยได้รับพระราชทานพระอนุญาต เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2565 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ให้น้อมนำมาขับเคลื่อนเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 3 รอบ 36 พรรษา วันที่ 8 มกราคม 2566 พร้อมทั้งทรงมีพระดำรัสว่า “ให้รีบทำ” สืบเนื่องจากพระองค์ท่านเล็งเห็นถึงความลำบากยากแค้นของพสกนิกรชาวไทยที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา รวมถึงการดำรงชีวิตประจำวันที่ต้องพบเจอกับสภาพปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งคำว่า “หมู่บ้านยั่งยืน หรือ Sustainable Village ที่กระทรวงมหาดไทยน้อมนำมาดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ นี้ ขอให้พวกเรานึกถึงหมู่บ้านในอุดมคติ หมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง อันเป็นหมู่บ้านที่รวมไปด้วยผู้คนที่อยู่อาศัยร่วมกันด้วยความรัก ความสามัคคี คนในหมู่บ้านมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักใคร่กัน ฉันพี่ฉันน้อง เมื่อมีงานประเพณี งานทำบุญ คนในหมู่บ้านก็จะไปช่วยเหลือกัน ช่วยกันเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ส่งเสริมเลี้ยงไก่อยู่ใต้ถุนเพื่อออกไข่ให้กิน มีพืชผักสวนครัว ตะไคร้ หัวข่า มะกรูด มะนาว ใบตำลึง ผักบุ้ง ถั่วค้าง ถั่วพู มะเขือเปราะ มะพร้าว กล้วย อ้อย ในพื้นที่รอบ ๆ บ้าน มีการปรับปรุงหน้าบ้านให้น่ามอง ด้วยการช่วยกันดูแลพื้นที่สาธารณะ มีการคัดแยกขยะ ดูแลครัวเรือนให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ ดูแลลูกหลานให้รู้จักหน้าที่ ทั้งการศึกษาเล่าเรียน การช่วยเหลือครอบครัว หุงข้าว ล้างจาน ซักผ้า กวาดบ้าน มีสัมมาคารวะ ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้ เป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญที่ต้องอาศัยพลังของแม่บ้านมหาดไทย และท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการทุกภาคส่วน ลงไปขยับขับเคลื่อน ทำให้เกิดสังคม ชุมชน ตำบล/หมู่บ้านในอุดมคตินั้นให้เกิดขึ้นได้ด้วยการที่พี่น้องชาวมหาดไทยและสมาชิกแม่บ้านมหาดไทย 17 จังหวัดภาคเหนือ ต้องช่วยกัน 


ประการที่ 1) ทำให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายอำเภอ มีทีมจิตอาสา 7 ภาคีเครือข่ายบูรณาการคอยตระเวนไปเยี่ยม ไปให้กำลังใจประชาชนในพื้นที่จริง โดยคัดเลือกหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีการพัฒนาแย่ที่สุดของ 7,255 ตำบล/ท้องถิ่น อันหมายถึงหมู่บ้าน/ชุมชนที่ผู้คนมีความลำบากที่สุด  มีคุณภาพชีวิตที่แย่ที่สุด มาทำมาผลักดันให้เขามีความเข้มแข็ง ความมั่นคงในชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน 


และประการที่ 2) ปลุกระดมให้นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบลไปสร้างอุดมการณ์ กระตุ้น ทำให้ทีมที่กฎหมายได้จัดตั้งไว้อย่างถูกต้อง คือ ทีมคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) อันมีผู้ใหญ่บ้านหรือกำนัน พร้อมกับคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่มีตำแหน่งหน้าที่อยู่แล้ว กลับมาเป็นผู้นำที่แท้จริงของประชาชนทุกครัวเรือน ทั้งนี้ หมู่บ้านยั่งยืนจะสำเร็จได้ในเวลาไม่มาก ถ้าทุกคนได้ลงไปช่วยกันขยายผลให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่อย่างจริงจัง ช่วยกันปลุกเร้าจิตใจคนในชุมชน ตำบล หมู่บ้าน ให้ลุกขึ้นมาพัฒนาตนเอง พัฒนาครอบครัว พัฒนาชุมชน/หมู่บ้าน ให้ดีงาม และเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนแห่งความสุขที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ตลอดปี 2566 ชาวมหาดไทยและแม่บ้านมหาดไทยทุกคน ต่างพร้อมในการสวมใส่เสื้อลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ในทุกวันพฤหัสบดี เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ พระองค์ท่านอีกด้วย” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม 

     

ด้าน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ กล่าวีไปด้วยกันทำสิ่งที่ดี Change for Good ให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนทุกคนให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งแน่นอนว่า “กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว” แต่ก็จะสร้างเสร็จในเวลาที่เหมาะสมได้ด้วยพลังของแม่บ้านมหาดไทยและท่านผู้นำของชาวมหาดไทย คือ ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ท่านนายอำเภอทุกอำเภอ เฉกเช่นผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ของชาวแม่บ้านมหาดไทย นั่นคือ การส่งเสริมการน้อมนำพระราชดำริด้านการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” กระทั่งพี่น้องประชาชนทุกครัวเรือน 100% ใน 16 จังหวัดภาคเหนือ สามารถปลูกผักสวนครัวเสร็จภายใน 2 ปี อาทิ “ลุงคีรี” ตัวแทนประชาชนในพื้นที่จังหวัดลำพูนที่ได้มานำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัว ด้วยการปลูกผักในครัวเรือน ซึ่งลุงคีรีได้ให้ความเห็นว่า สามารถลดรายจ่ายได้วันละประมาณ 200 บาท แต่หากเราคิดง่าย ๆ ว่า ถ้าทุกครัวเรือนปลูกผักไว้บริโภคเอง คิดแค่ว่าประหยัดวันละ 100 บาท 10,000,000 ครัวเรือน ใน 1 ปี มี 365 วัน ก็จะประหยัดถึงปีละ 3.65 แสนล้านบาท เกือบจะเป็น 10% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณของประเทศ ดังนั้น ขอให้พวกเราชาวแม่บ้านมหาดไทย ได้ร่วมกันสนับสนุนบทบาทของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด บทบาทของคู่สมรส บทบาทของชาวมหาดไทย เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติให้กับพี่น้องประชาชน เพื่อยังประโยชน์สุข ยังความสุขที่แท้จริงให้กับพี่น้องประชาชนและรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างยั่งยืน  

     

ด้าน นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า รู้สึกยินดีในการเข้าร่วมกิจกรรมแม่บ้านมหาดไทยสัญจร โดยการจัดกิจกรรมแต่ละภูมิภาคที่ผ่านมา กรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ได้ให้การสนับสนุนนำผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าร่วมจัดแสดงและจำหน่ายในงาน นอกจากนี้ได้สนับสนุนข้อมูลจากการดำเนินกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารที่ขับเคลื่อนโดยกรมการพัฒนาชุมชน ในการนำเสนอความสำเร็จของประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัด 


ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ร่วมกัน Change for Good เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชน


No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad