มูลนิธิโครงการหลวง ร่วมกับ สวพส. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตรการประยุกต์ใช้โครงการหลวงโมเดลในการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนภายใต้สถานการณ์วูก้าเวิลด์“The Application of the Royal Project Sustainable Highland Development Model in an Unsettled and Unpredictable VUCA World - Once In A Life Time

Once In A Life Time

ก้าวไปกับเราครั้งหนึ่งในชีวิต

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, July 25, 2023

มูลนิธิโครงการหลวง ร่วมกับ สวพส. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตรการประยุกต์ใช้โครงการหลวงโมเดลในการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนภายใต้สถานการณ์วูก้าเวิลด์“The Application of the Royal Project Sustainable Highland Development Model in an Unsettled and Unpredictable VUCA World


















พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ องคมนตรี ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวง เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การประยุกต์ใช้โครงการหลวงโมเดลในการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนภายใต้สถานการณ์วูก้าเวิลด์ ณ ห้องประชุม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโครงการหลวง ชนกาธิเบศรดำริ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 


การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ เป็นความร่วมมือของมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. พร้อมด้วยกระทรวงการต่างประเทศ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) ซึ่งมุ่งกลุ่มเรียนรู้จากนานาชาติ  โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-23 กรกฎาคม 2566 ในรูปแบบการบรรยาย อภิปราย และการศึกษาดูงานในพื้นที่ปฏิบัติงานของมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาโครงการแม่แฮ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้า อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่


ศ.เกียรติคุณ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ กรรมการบริหารมูลนิธิโครงการหลวงและประธานคณะทำงานวิจัยมูลนิธิโครงการหลวง กล่าวว่า จุดประสงค์การจัดหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการระดับนานาชาติ  เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้โครงการหลวงระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติในการนำไปประยุกต์ใช้ โดยกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ เป็น 1 ใน 5 หลักสูตร ที่โครงการหลวงจัดทำขึ้นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สั่งสมมา พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ทั้งจากนักวิจัย นักส่งเสริมในสาขาต่าง ๆ ของมูลนิธิโครงการหลวง และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ร่วมกับผู้เข้าร่วมอบรมจากประเทศไทย ภูฏาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา มาเลเซีย ศรีลังกา และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล 


นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) กล่าวว่า การจัดหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการระดับนานาชาติครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาพื้นที่สูงโดยถ่ายทอดตัวอย่างความสำเร็จทั้งจากเกษตรกรในพื้นที่ ผู้นำชุมชน นักวิจัย นักพัฒนาชุมชน ที่ดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเราเรียกว่า โครงการหลวงโมเดล และทางองค์การสหประชาชาติได้นำแนวทางของโครงการหลวงโมเดล เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปใช้กับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของพื้นที่ต่าง ๆ ในแนวทางการสืบสาน รักษา และต่อยอด ตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้การดำเนินงานมีความต่อเนื่อง 


จนสามารถพัฒนาพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน ทำให้ประชาชนบนพื้นที่สูงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามลำดับ การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ ยังมุ่งหวังให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อเป็นรูปแบบการปฏิบัติงานที่ดี (Best Practice) รองรับการเปลี่ยนแปลงและความคลุมเครือ จากสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อการพัฒนาที่ทุกคนจะต้องร่วมกันระดมความคิด เพื่อเตรียมพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกวูก้า ( VUCA) เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบและบทเรียนในการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวง (Royal Project Model) สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)ต่อไป โดยการอบรมมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากนานาชาติ อาทิ Bhutan, Lao PDR, Malaysia, Myanmar, Nepal, Sri Lanka, และกรณีศึกษาของ UNODC Myanmar  


รวมทั้ง การจัดหลักสูตรอบรมในครั้งนี้ มีตัวแทนจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อำเภอ แม่วาง จ.เชียงใหม่, ตัวแทนจากศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก, เกษตรกรผู้นำศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง ตัวแทนศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก ตัวแทนศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง ตัวแทนจากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ตัวแทนศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น มาเล่าประสบการณ์ของการพลิกฟื้นพื้นที่สูงจากระบบเกษตรเดิมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม มาสู่ระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงจากการทำไร่หมุนเวียน มาเป็นการปลูกพืชเขตหนาวที่สร้างอาชีพบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการส่งเสริมพัฒนาชุมชนคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad