สรุปภาพรวมการจัดงานเเสดงนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและสัมมนาวิชาการสุดยิ่งใหญ่เเห่งปี iEVTech 2024 จัดโดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ร่วมกับอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ชูคอนเซ็ปต์ Global EV Industry Transformation Towards Decarbonization ความร่วมมือจากนานาชาติเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนอย่างยั่งยืน - Once In A Life Time

Once In A Life Time

ก้าวไปกับเราครั้งหนึ่งในชีวิต

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Monday, July 8, 2024

สรุปภาพรวมการจัดงานเเสดงนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและสัมมนาวิชาการสุดยิ่งใหญ่เเห่งปี iEVTech 2024 จัดโดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ร่วมกับอินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ชูคอนเซ็ปต์ Global EV Industry Transformation Towards Decarbonization ความร่วมมือจากนานาชาติเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนอย่างยั่งยืน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) พร้อมด้วย คุณสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย เปิดงานเเสดงนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและงานสัมมนาวิชาการเเห่งปี iEVtech 2024 งานเเสดงนวัตกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้าสุดยิ่งใหญ่ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในปีนี้นับเป็นครั้งที่ 9 ของการจัดงานสัมมนาวิชาการด้านยานยนต์ไฟฟ้า โดยนำเสนอในคอนเซ็ปต์ Global EV Industry Transformation Towards Decarbonization ความร่วมมือจากนานาชาติเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนอย่างยั่งยืน ซึ่งจัดขึ้นตั้งเเต่วันที่ 3-5 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์



(ภาพหมู่พิธีเปิดงานเเสดงนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและสัมมนาวิชาการ iEVtech 2024 โดยได้รับเกียรติจากเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการ ลงทุน นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ (ที่ 8 จากขวา) ร่วมด้วย นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (ที่ 9 จากขวา), ดร. พิมพา ลิ้ม ทองกุล นายกสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (ที่ 6 จากขวา), นายสรรชาย นุ่มบุญนำ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย (ที่ 7 จากขวา) พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย)


และในโอกาสเดียวกันนี้ ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ยังได้จัดให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างพันธมิตรเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะกับหน่วยงานต่างๆ ในชื่อกลุ่ม “Charging Consortium” เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมต่อการใช้งานร่วมกันของแต่ละเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับวาระการทำงานร่วมกันในช่วงปี 2567-2569 โดยมี 18 หน่วยงานเข้าร่วมลงนามดังนี้ 

1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  

2. การไฟฟ้านครหลวง 

3. บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน)  

4. บริษัท อรุณ พลัส จำกัด  

5. บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด  

6. บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จํากัด 

7. บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด   

8. บริษัท อัลเตอร์วิม พาวเวอร์ อีวี จำกัด  

9. บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จํากัด   

10. บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด  

11. บริษัท เอสโปร นูเดอร์ จำกัด  

12. บริษัท ชาร์จทเวนตี้โฟร์ จำกัด  

13. บริษัท จีโอไนน์ซอฟต์แวร์ จำกัด  

14. บริษัท พิธาน กรีน จำกัด   

15. บริษัท โชเซ่น ดิจิตอล จำกัด  

16. บริษัท ไอเกน เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด   .

17. บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด  

18. บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด   



(ภาพหมู่ เครือข่าย Charging Consortium โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ (ที่ 11 จากซ้าย), นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า ไทย นายกฤษฎา อุตตโมทย์ (ที่ 10 จากซ้าย), นายฉันทกร เดวิชญ์ กริดวิชญยาการ อุปนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ฝ่ายข้อมูล, การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ (ที่ 9 จากซ้าย) และ รศ. ดร. ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยกิตติมศักดิ์ (ที่ 10 จากขวา) ร่วมเป็นสักขีพยาน)


ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของพันธมิตรเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะกลุ่ม “Charging Consortium เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายให้สามารถใช้บริการอัดประจุไฟฟ้าได้ในทุกเครือข่ายฯ และมีระบบการ ให้บริการที่เป็นมาตรฐาน สามารถใช้เครื่องมือ เช่น บัตร หรือ QR code โปรแกรม แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้ข้ามเครือข่ายๆ โดยไม่จํากัดเฉพาะของเครือข่าย ใดเครือข่ายหนึ่งเท่านั้น และร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยง ระบบการเก็บค่าบริการจากผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้บริการเครือข่ายต่าง ๆ ที่สามารถบริหารจัดการทั้งรายรับและรายจ่ายให้กับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างเป็นธรรม นอกจากนี้ยังร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในกลุ่ม Charging Consortium ช่วยให้มีการรวบรวมข้อมูลสถานะล่าสุดรวมถึงพิกัดของสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะจากทุกค่ายที่ตั้งอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย ไว้ในเว็บไซต์เดียว  ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้าของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านเว็บไซต์สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย www.evat.or.th ทำให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถวางแผนการเดินทางได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น



(เสวนาไฮไลท์ของงานในหัวข้อ Global EV Industry Transformation Towards Decarbonization ความร่วมมือจากนานาชาติเพื่อลดการ ปล่อยคาร์บอนอย่างยั่งยืน นำโดย ดร. อุเทน สุปัตติ อุปนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ฝ่ายการศึกษาและการพัฒนาบุคลากร ที่ 5 จากซ้าย)


โดย เสวนาไฮไลท์ของงานในหัวข้อ Global EV Industry Transformation Towards Decarbonization ความร่วมมือจากนานาชาติเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนอย่างยั่งยืน ซึ่งในหัวข้อเสวนาดังกล่าวนี้มีตัวเเทนผู้ร่วมเสวนาจากหลากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยจากประเทศต่างๆ เช่นประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา นอร์เวย์ เกาหลีและสาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าร่วม และต่อด้วยปาฐกถาพิเศษ Digital Solutions for Profitable EV Charging Business โดยผู้แทนจากบริษัท ABB E-Mobility และปิดท้ายวันแรกด้วยปาฐกถาพิเศษ “EV Market Outlook 2024” โดย ผู้แทนจากสำนักวิเคราะห์ Bloomberg



(วิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนาในหัวข้อความคืบหน้าด้านรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการลดคาร์บอน)



(ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล นายกสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย และกรรมการสมาคมยานยนต์ ไฟฟ้าไทย มอบของที่ระลึกให้แก่วิทยากรจากศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ)




(คณะกรรมการสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และวิทยากรรับเชิญ คุณสุพจน์ สุขพิศาล ประธานกลุ่ม อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ ชิ้นส่วนยานยนต์ยุคใหม่)


งานเสวนาถัดมา วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ในช่วงเช้า ประกอบไปด้วยหัวข้อที่น่าสนใจต่างๆ เช่น  ชิ้นส่วนยานยนต์ยุคใหม่ “Automotive Components for the Next Generation” โดยมี คุณวรากร กติกาวงศ์ เป็นประธานจัดการเสวนาในหัวข้อนี้ ควบคู่ไปกับการเสวนาเรื่อง ความคืบหน้าด้านรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการลดคาร์บอน “Progress on Electric Two-Wheeler Contribution towards Decarbonization” ร่วมกับสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA) โดย ดร.พิมพ์พา ลิ้มทองกุล และ ดร.นุวงศ์ ชลคุป เป็นประธานจัดการเสวนา



(การสัมมนาในหัวข้ออุปสรรคและโอกาสทางธุรกิจด้านระบบอัดประจุไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย)


และในช่วงบ่ายวันเดียวกัน  มีการเสวนาเรื่องความรู้ต่างๆ ด้านการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปสู่การใช้พลังงานสะอาด “EV Industry Transformation” โดยมี คุณธมลวรรณ ชลประทิน เป็นประธานจัดการเสวนา ควบคู่ไปกับการเสวนาเรื่อง โอกาสทางธุรกิจในระบบนิเวศน์ของยานยนต์ไฟฟ้า “Business Opportunities in the EV Ecosystem towards Decarbonization” โดยมี ดร.อรรถวิทย์ เตชะวิบูลย์วงศ์ ดร.วิศทวัสธ์  เกษเวชเจริญศุข และ คุณสยามณัฐ พนัสสรณ์ เป็นคณะทำงานจัดการเสวนา 



(ช่วงเสวนา ASEAN EV Roundtable ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่ง อาเซียน (Asian Federation of Electric Vehicle)) Associations – AFEVA)




(Mr. Edmund Araga ประธานสหพันธ์ยานยนต์ไฟฟ้าแห่งเอเชีย (AFEVA) และนายกสมาคมยานยนต์ ไฟฟ้าแห่งประเทศฟิลิปปินส์ ให้ข้อมูลในการเสวนา ASEN EV Roundtable ร่วมกับสมาชิกของสหพันธ์ ยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอาเซียน)


ในวันเดียวกันนั้น ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการเสวนา ASEAN EV Roundtable ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอาเซียน (Asian Federation of Electric Vehicle Associations – AFEVA) ประกอบไปด้วยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่นการเชื่อมต่อระบบอัดประจุไฟฟ้าข้ามเครือข่ายในแต่ละประเทศและมาตรฐานด้านความปลอดภัยต่างๆ โดยในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานของภาครัฐ ได้แก่ คุณอุษิณ วิโรจน์เตชะ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และ Mr. Bakri Alias, Senior General Manager, Value Chain, Development Division of Malaysia Automotive, Robotics and IoT Institute (MARii) ประเทศมาเลเซีย ร่วมเสวนาเพื่อให้ข้อมูลความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบนิเวศน์ของยานยนต์ไฟฟ้าในมุมมองของภาครัฐด้วยเช่นกัน 





(ช่วงเสวนา EV Tech Forum)


งานเสวนาวันสุดท้ายวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 มีการจัดสัมมนา “EVAT Tech Forum” หัวข้อ “รู้ไว้ ก่อนใช้ยานยนต์ไฟฟ้า” โดยสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้เชิญ สมาคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าโดยตรง อาทิ คุณจิตวุฒิ ศศิบุตร นายกสมาคมนายหน้าประกันภัยไทย, คุณนพดล ชุ่มวงศ์ รองประธานกรรมการสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย, รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, คุณวรรณดิษย์ แว่นอินทร์ แห่งช่องยูทูป Captain DIY, และคุณกรฤต ลีลาประชากุล หรืออาจารย์อ๋อง ตรีเนตร  โดยมี คุณกฤษดา ธีรศุภลักษณ์ เป็นผู้ดำเนินรายการในเสวนาครั้งนี้ 



ด้าน คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวว่า “ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนสำคัญในการร่วมผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้เติบโต สำหรับงาน iEVtech 2024 ในปีนี้ ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าจากประเทศในอาเซียน และผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าจากทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้ให้เกียรติตอบรับเข้ามาเป็นตัวเเทนในการนำเสนอนวัตกรรมสมัยใหม่และบรรยายในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้การจัดงาน iEVTech 2024 ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานในปีนี้มากเป็นประวัติการณ์ และในโอกาสเดียวกันนี้ สมาคมฯ ขอขอบคุณบริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย สำหรับความร่วมมือในการจัดงานสัมมนาวิชาการ iEVTech ครั้งที่ 9 ให้ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในปีถัดๆไป เราจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ มาจัดเเสดงสอดรับกับเทรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าโลกที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเราทุกคนในอนาคต” 



เกี่ยวกับ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (Electric Vehicle Association of Thailand)

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยเป็นสมาคมที่ไม่เเสวงหาผลกำไร โดยแนวทางของสมาคมมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการเเลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ยังรวมไปถึงการให้คำปรึกษาข้อบังคับมาตรฐาน และการดำเนินงานในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ในปัจจุบันสมาคมมี คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ ทำหน้าที่นายกสมาคม และมีสมาชิกที่มาจากภาคเอกชน สถาบันศึกษา รัฐวิสาหกิจ และบุคคลทั่วไปรวมทั้งสิ้นกว่า 390 รายโดยทางสมาคมมีการกำหนดการจัดการประชุม ในทุกๆเดือน และมีการเเบ่งคณะทำงานในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ที่ www.evat.or.th


******************************


No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad