พช. และคณะ Kumamong Group ร่วมวงหารือ จับมือขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทย-ญี่ปุ่น - Once In A Life Time

Once In A Life Time

ก้าวไปกับเราครั้งหนึ่งในชีวิต

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, February 6, 2024

พช. และคณะ Kumamong Group ร่วมวงหารือ จับมือขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทย-ญี่ปุ่น



5 กุมภาพันธ์ 2567  นาย Kiyochi Uchida หัวหน้าสำนักงานจังหวัดคุมาโมโตะ พร้อมด้วยคณะ Kumamon Group สำนักงานคุมาโมโตะ เข้าพบบุคลากรกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อหารือเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชนไทย โดยนางสาวอาภรณ์  เพชรรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาชุมชน ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยนางสาวจันทิมา  โจนส์  ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิเทศสัมพันธ์ กองแผนงาน เจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน คณะติดตาม Kumamon Group และล่ามแปลภาษาไทย-ญี่ปุ่น เข้าร่วมกิจกรรมและวงสนทนา ณ ห้องประชุม 5001 ชั้น 5 กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร




กระทรวงการต่างประเทศ ได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ว่า คณะ Kumamon Group สำนักงานคุมาโมโตะ ประสงค์เข้าพบหารือกับหน่วยงานด้านการส่งเสริมผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนของไทย ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อเข้าร่วมงาน Japan Expo โดยกระทรวงต่างประเทศ เห็นว่า คณะ Kumamon Group ประสบความสำเร็จในการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการตลาดผ่านการสร้างมาสคอต (Mascot) นาม “หมีคุมะมง” ประจำจังหวัดคุมาโมโตะ อันเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้น การพบปะและสร้างเครือข่ายระหว่างคณะ Kumamon Group กับกรมการพัฒนาชุมชน จักเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ OTOP และบริการท้องถิ่น จึงเรียนเชิญอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน หรือผู้แทน พบปะหารือกับคณะ Kumamon Group 



ภายในกิจกรรม ประกอบด้วย การรับชมวีดิทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน เพื่อแนะนำความเป็นมาของภารกิจการพัฒนาชุมชนโดยสังเขป การแสดงมาสคอตสุดน่ารัก “คุมะมง แด๊นซ์ (Kumamon Dance)” จากคณะ Kumamon Group และปิดท้ายด้วยการหารือ สนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการชุมชน และการพัฒนาชุมชน เพื่อร่วมส่งเสริม สนับสนุน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยว และการบริการภายในท้องถิ่น



นาย Kiyochi Uchida หัวหน้าสำนักงานจังหวัดคุมาโมโตะ เปิดเผยว่า ภายใต้กรอบของการพัฒนาชุมชน ประเทศญี่ปุ่นมุ่งเน้นในการส่งเสริม สนับสนุนในด้านของประชากร และเกษตรกร และยังมี 3 ประเด็นที่ยังตกอยู่ในสภาวการณ์ที่เป็นปัญหา ได้แก่ การศึกษา การพยาบาล และการท่องเที่ยว โดยเน้นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างทันท่วงที พร้อมทั้งประสานงานกับรัฐบาล หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยมีการถอดบทเรียนและรวบรวมปัญหาส่งไปยังรัฐบาลกลาง เพื่อให้ร่วมแก้ไขปัญหาได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ยังกล่าวชื่นชมว่า รู้สึกประทับใจการปฏิบัติงาน และการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนของประเทศไทยเป็นอย่างมาก 



ด้านนางสาวอาภรณ์  เพชรรัตน์ กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ยังคงมุ่งเน้นการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อันได้รับแรงบันดาลใจสำคัญมาจากแนวคิด One Village, One Product (OVOP) จากจังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง จากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน และนำคุณค่าของภูมิปัญญาไทยมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติ ทั้งนี้ กรมการพัฒนาชุมชน ยังคงส่งเสริม พัฒนา ต่อยอดโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดประเภท (Classification) ทั้งผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP Product Champion : OPC) การส่งเสริมการตลาดทั้งออนไซต์และออนไลน์ การส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี รวมถึงการฝึกทักษะ จัดการฝึกอบรมให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP มีความรู้รอบด้านในเรื่องของการพัฒนา ต่อยอด ผลิตภัณฑ์และธุรกิจชุมชน 


คณะ Kumamon Group ให้ความคิดเห็นว่า อยากให้ Kumamon และประเทศไทย ได้ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นอย่างมาก ทางคณะ Kumamon Group เสนอว่า อยากนำวัฒนธรรมไทยไปเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์ และทางคณะก็อยากเผยแพร่วัฒนธรรมญี่ปุ่นในประเทศไทยเช่นเดียวกัน โดยอยากให้มาสคอต Kumamon เป็นทูตทางวัฒนธรรม (Ambassador) ด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ด้านนางสาวอาภรณ์  เพชรรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาชุมชน แนะนำว่า อยากเชิญชวนคณะ Kumamon Group มาเยี่ยมชมการจัดแสดงและจัดจำหน่ายระดับประเทศของโครงการ OTOP เช่น การจัดงาน OTOP ทั้ง 3 กิจกรรม ได้แก่ OTOP Midyear, ศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP หลอมดวงใจด้วยพระบารมี และ OTOP City รวมถึงการเยี่ยมชมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งมีมากถึง 3,860 หมู่บ้าน


กรมการพัฒนาชุมชน ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนา ต่อยอดโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้มีความสามารถในการบริหารจัดการและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตแก่ประชาชนและชุมชน สร้างความร่วมมือและส่งเสริมบทบาทเครือข่ายการพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับงานพัฒนาชุมชน ให้ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล และยุทธศาสตร์ Soft Power ของประเทศไทยต่อไป 


#WorldSoilDay #วันดินโลก 

#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI #กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข #SoilandWaterasourceoflife 

#SustainableSoilandWaterforbetterlife #ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน #SDGsforAll #ChangeforGood



No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad