พช.เพิ่มทักษะการจัดการความรู้ ถอดบทเรียนอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ สร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง ขยายผลให้เกิดประโยชน์ทั่วประเทศ - Once In A Life Time

Once In A Life Time

ก้าวไปกับเราครั้งหนึ่งในชีวิต

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Thursday, November 3, 2022

พช.เพิ่มทักษะการจัดการความรู้ ถอดบทเรียนอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ สร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง ขยายผลให้เกิดประโยชน์ทั่วประเทศ





วันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 

นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์  อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยเป็นประธานเปิดกิจกรรมเพิ่มทักษะการจัดการความรู้ด้านการถอดบทเรียน และบรรยายพิเศษ หัวข้อ การดำเนินโครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ และสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting ณ สถาบันการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน โดยมีผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน วิทยากร ทีมถอดบทเรียนจังหวัด และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ณ เทศบาลตำบลหนองสนม ตำบลหนองสนม อําเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ Zoom Cloud Meeting 


นายอรรษิษฐ์ กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้กับพี่น้องประชาชน รวมถึงบูรณาการภารกิจระดับกระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการนำนโยบายจากแผนในระดับต่างๆ ตั้งแต่แผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล ตลอดแผนปฏิบัติราชการกระทรวงมหาดไทยไปสู่การปฏิบัติหรือการพัฒนาในระดับพื้นที่ (Area-Based) ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านและท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอำเภอซึ่งมีความใกล้ชิดกับพี่น้องประชาชนในท้องที่ อำเภอจึงเปรียบเสมือนรัฐบาลในระดับพื้นที่ โดยมีนายอำเภอเป็นเหมือนนายกรัฐมนตรีเพื่อขับเคลื่อนภารกิจของอำเภอด้านการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการร่วมกับส่วนราชการ/หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่และภาคีเครือข่าย 7 ภาคี เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการได้อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงมหาดไทย จึงได้ดำเนินโครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการและสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำอำเภอนำร่องระดับจังหวัด เพื่อพัฒนาให้เกิดผู้นำนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง


นายอรรษิษฐ์ กล่าวต่อว่า รูปแบบการดำเนินการโดยการคัดเลือกอำเภอนำร่องจาก 76 จังหวัด ๆ ละ 1 อำเภอ และคัดเลือกเป็นอำเภอนำร่องระดับกลุ่มจังหวัด จำนวน 18 อำเภอ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ : ผู้นำนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง ระดับอำเภอ (CAST) กิจกรรมการจัด Workshop การจัดทำแผนขับเคลื่อนงานพื้นที่อำเภอนำร่องจังหวัดจากการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ (One Plan) ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2556 ซึ่งในขณะนี้แต่ละอำเภอมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการ ในพื้นที่ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้กับพี่น้องประชาชน และจะมีการดำเนินกิจกรรมการประเมินสรุปผลการดำเนินโครงการ และกิจกรรมถอดบทเรียนความสำเร็จจากทุกจังหวัด ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการในภาพรวม ซึ่งจะเป็นแนวทางการดำเนินงานในการขยายผลโครงการในปี 2566 ให้ครอบคลุมทั้ง 878 อำเภอ ทั่วประเทศ


“การถอดบทเรียนโครงการอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการและสร้างนักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นำการเปลี่ยนแปลง กระทรวงมหาดไทย ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของกรมการพัฒนาชุมชน กรมการปกครอง และสำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทยทั้ง 2 ท่านที่ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งยังมีทีมวิทยากร ทีมพื้นที่จุดตัวอย่างการฝึกอบรม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยทีมถอดบทเรียนจากทุกหน่วยงานของทุกจังหวัด จะร่วมกันส่งข้อมูลให้ส่วนกลางภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนา และขยายผลโครงการให้เกิดประโยชน์สุขกับพี่น้องประชาชนทั้ง 878 อำเภอ ทั่วประเทศต่อไป” อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนกล่าว


No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad