พช.ขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ระดับภาค รุ่นที่ 4 ภาคใต้ เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน “สร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข” - Once In A Life Time

Once In A Life Time

ก้าวไปกับเราครั้งหนึ่งในชีวิต

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, April 25, 2023

พช.ขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ระดับภาค รุ่นที่ 4 ภาคใต้ เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน “สร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข”










วันที่ 25 เมษายน 2566 นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน มอบหมายให้นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนากลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากระดับภาค” รุ่นที่ 4 ภาคใต้ 14 จังหวัด 42 คน ระหว่างวันที่ 25 – 26 เมษายน 2566 ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นางสาวณัฐนิช อินทสระ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กล่าวรายงาน และนายอรรถพงษ์ อยู่เกตุ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช ให้การต้อนรับ ในการประชุมครั้งนี้ ได้เชิญวิทยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อาทิ นางภาวินี ไชยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด นางปิยะณัฐ หอมวิเชียร นักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคมชำนาญการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ดร.พลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกลุ่มสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผศ.ดร.จุฑามาศ วิศาลสิงห์ และนายเกรียงไกร กลิ่นหอม ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก พช.


นายวรงค์ แสงเมือง กล่าวว่า งานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(SEP: Sufficiency Economy Philosophy) มาเป็นกรอบแนวคิดในการทำงานสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs: Sustainable Development Goals) จะทำให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มความสุขให้กับประชาชนในชุมชนได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ให้ความสำคัญในเรื่องของการขับเคลื่อน SDGs ในข้อที่ 17 คือ Partnerships for the Goals สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการร่วมกันของการทำงาน 5 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐสนับสนุนช่วยเรื่องนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน สนับสนุนเงินทุนผ่านสถาบันการเงินภาครัฐตามหลักเกณฑ์การปล่อยเงินกู้  ภาคประชาชน / ธุรกิจชุมชนลงมือ ทำความเข้าใจ ความต้องการและลงมือทำ เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ เป็นผู้ผลิต ให้บริการ ดำเนินธุรกิจ ภาคเอกชนขับเคลื่อน ช่วยเรื่องความรู้ด้านการบริหารจัดการ การเชื่อมโยงการตลาด การทำแผนธุรกิจ สนับสนุนเงินทุนผ่านธนาคารพาณิชย์และโครงการพี่ช่วยน้อง ภาคประชาสังคม ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างชุมชน และภาควิชาการให้องค์ความรู้ ช่วยเรื่องค้นคว้าวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและวิชาการด้านการเกษตรและการแปรรูป


นายวรงค์ กล่าวต่อว่า โดยมีลำดับขั้นการพัฒนาได้แก่ ขั้นพื้นฐาน ขั้นก้าวหน้า ขั้นสานพลัง ขั้นพื้นฐาน คือต้องการให้คนในชุมชนทุกคนมีรายได้ เมื่อมีการพึ่งตนเองได้แล้ว ก็มารวมซื้อรวมขาย มาร่วมกันขับเคลื่อน ต่อมากรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยให้ขับเคลื่อน โคก หนอง นา เพื่อให้ประชาชนในชุมชนพึ่งตนเองได้ มีที่ 1 ไร่ ก็สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องไปพึ่งพาผู้อื่น อย่างเช่นในช่วงสถานการณ์ โควิด – 19 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดว่า แปลงโคกหนองนาที่ได้ดำเนินการเริ่มมีผลผลิต ซึ่งจะได้ดูต่อไปว่าบริษัทประชารัฐรักสามัคคี สามมารถทำอะไรได้ต่อ บริษัทประชารัฐรักสามัคคี จำกัด เป็นผู้รวบรวมผลผลิต เพื่อผลประโยชน์ของทุกฝ่าย ในปัจจุบันมีวิสาหกิจเพื่อสังคมหลายแห่ง ได้ขอมาเป็นภาคีเพื่อทำงานร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน แต่กรมยึดที่จะเป็นภาคีกับบริษัทประชารัฐรักสามัคคี จำกัด มากกว่า

           

นายวรงค์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การทำสัญญาของเอกชนกับภาครัฐ ภาครัฐจะต้องทำสัญญาจ้างกับบริษัทที่จดทะเบียนและมีวัตถุประสงค์ในการรับจ้างในเรื่องนั้นๆ ถ้าหากบริษัทประชารัฐรักสามัคคี สนใจจะจดทะเบียนสามารถไปติดต่อขอข้อมูลจากกรมธุรกิจการค้า ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ตัวอย่าง บริษัทประชารัฐรักสามัคคีของจังหวัดสระบุรี พอเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ได้รับการยกเว้นเรื่องภาษี เรามีกำไรจริง แต่ถ้าเราจดเราจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ต้องมีการไปติดต่อสรรพากรก่อน ซึ่งจะเป็นช่องทางในการทำงานกับภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ลองพูดคุยกัน บริษัทประชารัฐ มี 5 ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาคเอกชน ภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน เช่น สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพัทลุงอยากทำ KBO คือ Knowledge Bass OTOP ซึ่งจะมีงบประมาณมา โดยวิธี E-Bidding ซึ่งมักจะไปได้เอกชน หรืออาจารย์มหาวิทยาลัย แล้วทำไมบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด จะมารับจ้างบ้างไม่ได้ ในเมื่อมีความรู้หรือมีเครือข่ายเป็นผู้เชี่ยวชาญ เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน เขาก็ต้องหากำไรและผลประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง แต่เราทำเพื่อชุมชนและสังคม อยากให้ทางปริษัทประชารัฐ ที่อาจจะติดกรอบความคิดเดิม ที่ว่าเป็นการทำงานเพื่อสังคมแต่ไม่ได้หวังผลกำไร จึงทำให้ไม่เกิดผลกำไร แต่จริงๆ เราจะทำกิจการอะไรสักอย่างเราจะต้องมุ่งหวังให้เกิดผลกำไร เพื่อที่จะจ้างพนักงาน จ้างลูกจ้าง ลืมเอากำไรเข้าบริษัททำให้ทุนในตอนก่อตั้งหายหมด ให้ช่วยตนเองให้ได้ก่อนค่อยช่วยคนอื่น ท่านมีวัตถุดิบ มีทุนที่กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการไว้ มีกลุ่ม OTOP มีผลิตภัณฑ์ในจังหวัดของตนเอง ให้มองว่าผลิตภัณฑ์ใดมีความเป็นไปได้ ให้นำมาต่อยอด ทำอย่างไรก็ได้ให้ชาวบ้านเขาได้ขายต่อ เช่น นำกระเป๋ากระจูดมาพัฒนาตกแต่งลาย แล้วเอาไปขายต่อ ซึ่งชาวบ้านเขาก็จะมีความสุข เนื่องจากได้ขายกระเป๋า บริษัทประชารัฐก็สามารถขายผลิตภัณฑ์ได้ในราคาที่สูงขึ้น เกิดผลกำไร


"กรณีชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บริษัทประชารัฐ สามารถไปหยิบยกมาสัก 1 บริษัท มาพัฒนา เช่น Air BnB นักท่องเที่ยวเวลาเสริชหา เขาจะเสริชหาที่ ๆ เขาอยากจะไป ที่ ๆ แปลกๆ ที่เขาไม่เคยไป เช่น ทะเลที่มีที่พักเป็นแหล่งธรรมชาติ เขาบอกว่า กรมการพัฒนาชุมชนมีชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี มีโอกาสที่จะพัฒนาต่อ แต่นักท่องเที่ยวจะมองหาอะไรที่แปลกๆ เช่น เที่ยววัดเพื่อขอลูก ขอหวย ขอเนื้อคู่ เป็นต้น ซึ่งจะต้องไปทำเรื่องราวของหมู่บ้านให้น่าสนใจ แล้วเข้าไปที่  Air BnB ว่าเรามีอะไรที่น่าสนใจ เขาก็จะทำการโฆษณา โดยมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง เขาจะให้คำแนะนำว่าเวลาทำห้องพัก นักท่องเที่ยวต้องการอะไร เช่น ความสะอาด สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นต้น บริษัทประชารัฐมีความได้เปรียบขึ้นว่าจะหยิบยกอะไรมาขาย หยิบยกอะไรขึ้นมาทำกิจการ เป้าหมายสำคัญ ที่ท่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ฝากมา คือ คสป.ถ้าสามารถดูแลคนยากคนจนได้ให้ดูแลด้วย การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เป็นหน้าที่ของรัฐ เราต้องเข้าไปช่วย แต่มิใช่การเอาเงินไปให้ บริษัทประชารัฐต้องเดินหน้าต่อไปเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชน" นายวรงค์กล่าว


นอกจากนี้ รองอธิบดี พช. ได้ยกตัวอย่างต้นแบบการพัฒนา สู่หมู่บ้าน ยั่งยืน Model ในการทำงาน DONKOI Sustainable Village ต้นแบบการพัฒนาสู่การพัฒนาหมู่บ้านยั่งยืน ที่แม้กระทั่งกรมการพัฒนาชุมชนยังต้องนำมาเป็นต้นแบบในการพัฒนา ให้แต่ละอำเภอไปเลือกหมู่บ้านที่มีการพัฒนาน้อยที่สุดในตำบล มาพัฒนาให้ประสบความสำเร็จ เพื่อมาทำโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในวาระทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา ในวันที่ 8 มกราคม 2566 เป็นหมู่บ้านที่ยั่งยืนได้ พื้นที่ของทุกครัวเรือน ต้องน้อมนำเอาแนวพระดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโครงการปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ส่วนเรื่องของอาชีพให้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้วัตถุดิบ หรือสิ่งที่จะนำไปประกอบอาชีพ มีความพยายามขวนขวายทำด้วยตนเอง เช่นเรื่องทำผ้าก็ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมด้วยตัวเอง ปลูกฝ้ายเอง ปลูกไม้ที่ให้สีธรรมชาติเอง รวมไปจนถึงโครงการบริหารจัดการขยะ คัดแยกขยะ การทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน และทรงมีพระราชดำริในการสร้างศูนย์เรียนรู้ดอนกอยโมเดล กรณีที่กี่ไม่พอ ทรงพระราชทานกี่เพิ่มขึ้น ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น จาก 700 บาท/คน/เดือน เป็น 15,000 บาท/คน/เดือน ซึ่งศูนย์เรียนรู้ “วิชชาลัยดอนกอย วิถีแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน” มีโชว์รูม มีห้อง LIVE สด  มีหนังสือเพื่อประชาสัมพันธ์ ทั้งในภาษาไทย อังกฤษ และภาษาจีน ได้ทรงพระราชทานหนังสือการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กระทรวงมหาดไทย ตอนนี้คนไปดูงานทุกวัน สามารถนำพืชผักสวนครัวมาขายให้กับคนที่มาศึกษาดูงานได้ เกิดการพัฒนาหมู่บ้านที่ยั่งยืน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข เกิดกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามหลัก BCG เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน บรรลุเป้าหมาย “สร้างรายได้ให้ชุมชน ประชาชนมีความสุข”


No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad